การสื่อสารของมนุษย์
วัจนภาษา = ภาษาถ้อยคำ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน
อวัจนภาษา = ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ เช่น ท่าทาง สัญลักษณ์ต่างๆ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
การใช้ภาษาในการสื่อสาร
ระดับของภาษา
ระดับภาษา |
โอกาส/สถานที่ |
ลักษณะภาษาที่ใช้ |
ทางการ |
การกล่าวถวายพระพร การกล่าวในที่ประชุม จดหมายธุรกิจ หนังสือราชการ แถลงการณ์ |
สละสลวย ถูกต้องตามแบบแผน เช่น ศีรษะ ถึงแก่กรรม พูดเท็จ |
กึ่งทางการ |
การบรรยายในห้องเรียน การเขียนข่าวหรือบทความ การแนะนำบุคคล การปราศรัย |
ภาษาเขียน ภาษาสนทนาทั่วไปไม่สนิทสนมกันมาก เช่น หัว เสียชีวิต พูดปด |
ไม่เป็นทางการ |
ละคร นิทาน นวนิยาย ภาษาหนังสือพิมพ์ สารคดี จดหมายส่วนตัว บันทึกส่วนตัว |
ภาษาปาก/ภาษาพูดในชีวิตประจำวันกับคนคุ้นเคย เช่น หัว ตาย โกหก |
ภาษาพูด ภาษาเขียน
ในการเลือกใช้ภาษาควรคำนึงถึงความเหมาะสม ภาษาพูด ไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาเขียน เป็นทางการ มีการเรียบเรียงขึ้นเป็นพิเศษซึ่งต่างจากภาษาพูด บางสำนวนหรือคำลงท้ายต่าง ๆ ในภาษาพูด เช่น กัน นี่ น่ะ สิ ละ อาจถูกตัดทิ้งเมื่อเรียบเรียงเป็นภาษาเขียน อีกทั้งภาษาเขียนต้องเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรมในขณะที่ภาษาพูดอาจออกเสียงไม่ตรงกับรูปที่เขียน เช่น ฉัน (ออกเสียงเป็น ชั้น) หนึ่ง (ออกเสียงเป็น นึง)
สรุป
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ต้องรู้จักเลือกใช้คำหรือระดับของภาษา และสามารถผูกประโยคได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน
คำสำคัญ ระดับภาษา, ภาษาพูด, ภาษาเขียน