ใช้ซากดึกดำบรรพ์เนื้อเยื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตโบราณ

Credit : University of Oxford

ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ของสิ่งมีชีวิตมีความสำคัญต่อความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการ โดยเฉพาะชนิดที่อ่อนนุ่มและยังสมบูรณ์ เช่น หนอน มีแนวโน้มที่จะสลายตัวไปก่อนที่จะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้เสนอการวิจัยด้านแร่วิทยาที่แสดงให้เห็นว่าแร่บางชนิดเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยรักษาอวัยวะส่วนที่อ่อนนุ่มของสิ่งมีชีวิต และอาจช่วยค้นพบฟอสซิลพิเศษชนิดอื่นๆตามมา

นักวิจัยอธิบายว่า ปรากฏการณ์ระเบิดทางชีวภาพในยุคแคมเบรียน (Cambrian Explosion) ซึ่งสิ่งมีชีวิตยุคแรกๆอุบัติขึ้นมาพร้อมกันเมื่อ 500 ล้านปีก่อนนั้น ซากฟอสซิลที่หลงเหลืออยู่จะเป็นตัวช่วยในการศึกษาได้ดี โดยนำตัวอย่างหินยุคแคมเบรียนกว่า 200 ชิ้น มาวิเคราะห์การกระจายตัวของรังสีแกมมาเพื่อหาองค์ประกอบแร่ และนำมาเปรียบเทียบกับหินที่มีฟอสซิล ซึ่งได้จากแถบเบอร์เจสส์ เชล (Burgess Shale) พื้นที่ที่รู้จักกันดีว่าอุดมไปด้วยซากสิ่งมีชีวิตที่แปลกๆในประเทศแคนาดา ทีมวิจัยพบว่าฟอสซิลเนื้อเยื่ออ่อนมักพบในหินที่อุดมไปด้วยแร่ berthierine เป็นแร่ที่มีการวิจัยว่าเป็นพิษทำให้แบคทีเรียย่อยสลาย แร่ดังกล่าวก่อตัวในเขตร้อนมีความเข้มข้นของเหล็กสูง หมายความว่าชนิดของฟอสซิลที่เบอร์เจสส์ เชลอาจถูกจำกัดให้อยู่ในหินแถบเขตร้อน ซึ่งมาจากสถานที่หรือช่วงเวลาที่มีการเพิ่มสูงขึ้นของธาตุเหล็ก

การสังเกตครั้งนี้เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเพราะนับว่าเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยสามารถตีความการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์และกาลเวลาของซากดึกดำบรรพ์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น หากต้องการทำความเข้าใจชีววิทยาและระบบนิเวศ ของพวกมัน ซึ่งไม่ใช่แค่ช่วยค้นหาสิ่งมีชีวิตโบราณบนโลก แต่เชื่อว่าจะสนับสนุนการทำงานของยานสำรวจดาวอังคารในการวิเคราะห์ตัวอย่างและเร่งค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆได้เช่นกัน.

 

ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ของสิ่งมีชีวิตมีความสำคัญต่อความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการ โดยเฉพาะชนิดที่อ่อนนุ่มและยังสมบูรณ์ เช่น หนอน มีแนวโน้มที่จะสลายตัวไปก่อนที่จะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ 25 ก.พ. 2561 13:56 ไทยรัฐ